โควิด-19: อาการสายพันธุ์โอมิครอน วิธีการตรวจหาเชื้อ และสถานการณ์การระบาดที่ควรรู้

ข่าวสุขภาพ (ในประเทศ - ต่างประเทศ)

แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะเปิดเผยว่าอาการจากการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนจะไม่รุนแรง แต่อัตราการระบาดกลับเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนถึงขณะนี้พบว่ามีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้แล้วกว่า 55 จังหวัด (ข้อมูล ศบค. ณ 5 ม.ค. 2565) ซึ่งถือว่าเกินกว่าครึ่งหนึ่งของไทยไปแล้ว

ภายในระยะเวลาเพียงสัปดาห์เดียวยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนก็เพิ่มสูงขึ้นกว่า 2,338 รายแล้ว ณ วันที่ 5 ม.ค. ที่ผ่านมาในขณะที่วันที่ 28 ธ.ค. ปีที่แล้วอยู่ในหลักร้อยที่ 150 ราย เท่านั้น จึงเป็นข้อกังวลว่า หากยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นแล้วอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขหรือไม่

ผลศึกษาเบื้องต้นชี้โอมิครอนไม่รุนแรงเท่าเดลตา แต่ยังน่ากังวล
จากแนวโน้มดังกล่าวทำให้ขณะนี้ ไทยอยู่ในลำดับที่ 25 ของโลก ในแง่ยอดผู้ป่วยสะสมนับตั้งแต่มีการระบาด ขณะที่ 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สเปน และอิตาลี ตามลำดับ

บีบีซีไทยรวบรวม 5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ที่น่าสนใจ ทํานายเบอร์โทรศัพท์ แม่นที่สุดในโลกอาการหลังจากติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ตลอดจนการตรวจหาเชื้อเบื้องต้น

อาการโอมิครอน ต่างจากเดลตาอย่างไร
นับตั้งแต่การเปิดประเทศตั้งวันที่ 2 พ.ย. 2564 เป็นต้นมา เริ่มพบผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากผู้เดินทางจากต่างประเทศ และเริ่มแพร่ระบาดในประเทศผ่านกลุ่มผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ แนวโน้มยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แล้วเราจะทราบได้อย่างไรกว่าอาการใดบ่งชี้ถึงการติดเชื้อจากสายพันธ์ดังกล่าว

แนวโน้มผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในรอบ 8 วัน . . .

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุเมื่อวันที่ 4 ม.ค. ว่า ผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนส่วนใหญ่หายดีแล้วหลังจากผ่านระยะเวลารักษา 14 วัน ส่วนที่เหลือเกือบทั้งหมดอยู่ในระบบรักษาพยาบาล โดยอยู่ในกรุงเทพมหานครมากที่สุด 585 ราย ตามมาด้วย กาฬสินธุ์ 233 ราย (เป็นการติดเชื้อภายในประเทศ 231 ราย) ร้อยเอ็ด ติดเชื้อภายในประเทศ 180 ราย ตามด้วย ภูเก็ต ชลบุรี และสมุทรปราการ

เมื่อสอบถามถึงอาการของผู้ป่วยโอมิครอนในไทยเป็นอย่างไร เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. ที่ผ่านมา นพ. เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยระหว่างการแถลงสถานการณ์โควิด-19 ว่า ผู้ป่วยโอมิครอนในไทยราว 90% ปรากฏอาการน้อยหรือไม่มีอาการ มีอาการเล็กน้อยราว 10% และอาการมาก 3-4%

“จากการศึกษาอาการของคนไข้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน 41 รายที่ดูแลในโรงพยาบาล พบอาการไอมากที่สุด 54% รองลงมาคือ เจ็บคอ และไข้ อาการได้กลิ่นลดลงพบเพียง 1 ราย หรือ 2% ทุกรายได้รับการรักษาแต่เบื้องต้น และให้ยาฟาวิพิราเวียร์รักษา หากให้ยาตั้งแต่ต้นอาการจะดีขึ้นใน 24-72 ชั่วโมงหลังรับยา และให้จนครบ 5 วัน” นพ.เกียรติภูมิ กล่าว

นอกจากนี้ในรายงานของเว็บไซต์บีบีซี เมื่อวันที่ 4 ม.ค. อธิบายถึงอาการจากสายพันธุ์โอมิครอนว่า มีความคล้ายคลึงกับการเป็นหวัดในบางราย เช่น อาการเจ็บคอ น้ำมูกไหลและปวดหัว

อย่างไรก็ตาม 3 อาการหลัก ๆ ที่เคยปรากฏจากการสัมผัสเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ก่อนหน้านี้ ก็ยังสามารถพบเจอได้ เช่นกัน เช่น จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่สามารถรับรสชาติได้ อาการไอและไข้สูง แต่อาการไม่มากเท่ากับการติดเชื้อจากสายพันธุ์ก่อนหน้านี้
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพได้กล่าวในรายงานชิ้นดังกล่าวว่า แม้สายพันธุ์โอมิครอนจะมีอัตราการแพร่ระบาดรวดเร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา แต่อาการที่เกิดขึ้นรุนแรงน้อยกว่า และมีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้ติดเชื้อต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยกว่าด้วย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ก็มาจากการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น รวมถึงภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหลังการติดเชื้อไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังเตือนว่า โอมิครอนอาจจะสร้างปัญหามากขึ้นในสหราชอาณาจักรได้ เมื่อมีกลุ่มคนชราและกลุ่มเปราะบางติดเชื้อเป็นจำนวนมาก

ชุดตรวจ ATK ตรวจหาเชื้อโอมิครอนได้หรือไม่
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขเคยออกมายืนยันหลายครั้งนับตั้งแต่มีการระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ว่า การตรวจโควิดด้วยวิธี RT-PCR และชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) สามารถตรวจหาเชื้อโอมิครอนได้ แต่ต้องมีการเก็บตัวอย่างและตรวจให้ถูกวิธี รวมถึงมีการตรวจซ้ำเพื่อความถูกต้องแม่นยำ

สำหรับการใช้วิธี RT-PCR จะมีความแม่นยำมากกว่าวิธีการตรวจโดยใช้ชุดตรวจ ATK แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการตรวจมากกว่า และมีเทคนิคหลากหลายกว่าเพื่อให้สามารถระบุได้ถึงระดับสายพันธุ์

การตรวจหาสายพันธุ์ สามารถแบ่งเป็น 3 ระบบ ประกอบด้วย

1. การตรวจด้วยวิธี RT-PCR ด้วยน้ำยาของแต่ละสายพันธุ์ เช่น การนำน้ำยาของเดลตาไปตรวจหาเชื้อเดลตา ถือเป็นวิธีที่ได้ผลรวดเร็วที่สุด

2. การตรวจแบบ Target sequencing วิธีนี้จะใช้ระยะเวลา 3 วัน โดยจะทำการตรวจตำแหน่งพันธุกรรมว่าเข้าข่ายสายพันธุ์ใด

3. การตรวจแบบ Whole genome sequencing เป็นวิธีการถอดรหัสพันธุกรรรม ซึ่งจะใช้ระยะเวลามากที่สุด คือ 7 วัน

ส่วนการตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK พบว่า จะเป็นการตรวจหาเชื้อโรคโควิด-19เบื้องต้นได้ แต่ก็ไม่สามารถระบุได้ถึงระดับสายพันธ์ของเชื้อโควิด-19 จากข้อมูลที่แอนติบอดีในชุดตรวจ ATK สามารถจับกับโปรตีน N ของเชื้อโรคโควิด-19 ได้ แม้ว่ามีการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้น แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่าเหตุดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการตรวจด้วย ATK

สถานการณ์สัดส่วนเชื้อกลายพันธุ์ในไทยเป็นอย่างไร
ข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ณ วันที่ 4 ม.ค. ระบุถึงสถานการณ์สายพันธุ์โควิด 19 โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน แม้จะส่งผลให้การติดเชื้อของประเทศมากขึ้น แต่ยังไม่ส่งผลต่อจำนวนการเสียชีวิต

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 ม.ค. ที่ผ่านมาว่า การติดเชื้อในประเทศไทยขณะนี้ 70-80% ยังเป็นสายพันธุ์เดลตาที่ทำให้ป่วยหนักและเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง ส่วนสายพันธุ์โอมิครอน สัดส่วนอยู่ที่ราว 20%

อย่างไรก็ตาม หลังจากการเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่เป็นต้นมา ยอดการติดเชื้อโควิด-19 ในหลายพื้นที่มีแนวโน้มสูงขึ้นมาก โดย 5 อันดับแรกของผู้ติดเชื้อรายใหม่ในวันที่ 5 ม.ค. ประกอบด้วย อันดับที่ ชลบุรี จำนวน 529 ราย ตามมาด้วย กรุงเทพมหานคร 408 ราย อุบลราชธานี 315 ราย สมุทรปราการ 259 ราย และขอนแก่น 164 ราย

อ้างอิง
https://www.khaosod.co.th/covid-19/page/4